นายกมล รอดคล้าย เลขาธิการคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยถึงความร่วมมือในการพัฒนาโรงเรียน จุฬาภรณฯกับองค์การความร่วมมือนานาชาติของญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย ว่า ตามที่ สพฐ. ได้จัดตั้งศูนย์บริหารโครงการพัฒนาโรงเรียน จุฬาภรณราชวิทยาลัย ให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค มีหน้าที่รับผิดชอบการดำเนินโครงการพัฒนาโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค จำนวน 12 แห่ง โดยมีกิจกรรมสำคัญที่จะช่วยผลักดันการยกระดับ คุณภาพนักเรียนของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ให้มีประสิทธิภาพทัดเทียมนานาชาติ พร้อมทั้งมีความร่วมมือในการเรียนรู้ร่วมกันในห้องเรียน กับโรงเรียนชั้นนำด้านวิทยาศาสตร์ของประเทศ ญี่ปุ่น ผ่านสถานทูตญี่ปุ่นและหน่วยงานด้านการศึกษาของญี่ปุ่น กับองค์การความร่วมมือ นานาชาติของญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย (JICA) ประกอบด้วยกลุ่ม โรงเรียน Super Science High School จำนวน 14 โรงเรียน ซึ่งได้ดำเนินการ มาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นมา นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยชูโอ (Chuo University) ยังได้ให้ ความร่วมมือส่งนักศึกษาอาสาสมัครมาสอน คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีให้กับครูสอนคอมพิวเตอร์ ของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ในประเทศไทย พร้อมทั้งมหาวิทยาลัยชูโอ (Chuo University) ก็จะคัดเลือกและส่งนักศึกษาอาสาสมัครที่มี ความรู้ด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีที่ทันสมัย มาสอนให้กับครูโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ในช่วงเดือนตุลาคม นี้ด้วย โดยนักศึกษาอาสาสมัครที่จะมาสอนจะมีการอบรมฝึกพูดภาษาไทยมาประมาณ 1-2 เดือน เมื่อมาถึงเมืองไทยแล้วจะเริ่มที่โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี เป็นแห่งแรก โดยองค์กร ความร่วมมือนานาชาติของญี่ปุ่น ประจำประเทศไทย (JICA)จะเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณให้กับอาสาสมัครดังกล่าว เป็นระยะเวลา 2 ปี--จบ-- ที่มา: หนังสือพิมพ์แนวหน้า
|